8 พฤศจิกายน 2554

ประวัติของประเพณีลอยกระทง (The history of Loi Krathong festival)

     เมื่อวานได้นำเสนอกิจกรรมวันลอยกระทงมากันแล้ว วันนี้ขอย้อนไปดูประวัติความเป็นมากันบ้าง ว่าวันลอยกระทงมีความเป็นมา และมีความสำคัญอย่างไร
     วันนี้จะนำเสนอข้อมูลเป็น 2 ภาษาเลย จะได้เป็นการเผยแพร่ข้อมูลให้ชาวต่างชาติได้เห็นประเำพณีที่สวยงามของคนไทย จะได้มาเที่ยวเมืองไทยกันเยอะ ๆ

ประวัติของประเพณีลอยกระทง (The history of Loi Krathong festival)

     Loi Krathong festival is a Thai tradition which has been conducted for a long time ago. Loi Krathong has been held since the middle of the eleventh to the middle of the twelfth lunar month, which is a great flood season- especially on the full moon night of the twelfth lunar month. When the moon shines at night, it makes rivers clear. It is very beautiful scenery which is suitable for floating krathong.
     ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง



      In the past, we called Loi Krathong as Chong Pa Rieng- floating lantern of royal ceremony. It is a Brahman festival to worship Gods- Siva, Vishnu, and Brahma. When Thai people adopted Buddhism, they adapted this ceremony to honor the Buddhas cremated bone- the original Buddha at the second heaven ruler. They floated lantern to worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River beach in India.
     เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
     Floating krathong along the river was created by Nang Noppamas; the most favorite concubines Sukhothai king. She made krathong as lotus-shaped. The king of Sukhothai floated it along the river. According to Sri Chula Lucks treatise, Phra Ruang (Sukhothai king) said From now on, on the full moon night of the twelfth lunar month, kings of Siam have to make floating lantern- like lotus-shaped- to worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River for ever after. 
     การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"

     In Rattanakosin period, people often made big and beautiful krathong. According to Chao Phraya Dhipharachawongs historical annals said:-
      In the twelfth lunar month on 14 and 15 waxing moon, I ask for members of the royal family and civil servants making big-sized krathongs- look like banana trunk rafts, they size 8-9 sauk width (an ancient Thai measure of length) and 10-11 sauk tall. They make for contesting each other. For example, some imitate krathong as Mount Meru - shaped and others make krathong as basket decorated with flowers. There are a lot of people to do these so they use a lot of money- about 20 chung (an ancient measure of weight).
     Nowadays, Loi Krathong festival is held in mostly Thai provinces. Particularly in Chiangmai, it has krathong parade, contestation of making krathongs, and Noppamas beauty pageants contest.
     The villagers in northern and north-eastern parts of Thailand often float lanterns. They are made of color paper. If they float in the afternoon, they will use smoke for floating lanterns while they use torch to set smoke in lanterns to float them in wind chill at night. We can see the light from lantern in the sky with moonshine and stars glitter at night, which is very beautiful.

    ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า
   "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"
    ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย
     ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว

Interesting stories about Loi Krathong

There are many legends of Loi Krathong:-
     1. Loi Krathong is to ask for forgiveness Pra Mae Khongkha.
     2. According to Brahma belief, Loi Krathong is to worship God.
     3. Loi Krathong is to welcome Buddha when he came back to the world- he had stayed in the Buddhist temple during the rainy season at the second heaven ruler to teach his mother.
     4. Loi Krathong is to worship foot-print of Buddha on the Nammathanati River beach.
     5. Loi Krathong is to worship Chulamanee in the heaven where the Buddhas hair is buried.
     6. Loi Krathong is to worship Bhakabhrama in heaven.
     7. Loi Krathong is to worship Uppakutta-dhera who observed religious precept at the middle portion of the sea.

Loi Krathongs history in Thailand
     Loi Krathong in Thailand originated in Sukhothai period as Loy Phra Pra Teip or Loy Khom (floating lantern). It is a festival of Thai people. After that, Noppamas- the most favorite concubines Sukhothai king - created krathong, like lotus-shaped, for floating in the river. Instead of floating lantern, it used for worshipping the foot-print of Buddha at Nammathanati River beach in Thakkhinabodh district, India. As we called Nehrabhuddha river.

Loi Krathong at the present
     Nowadays, Thai people still keep form suitably; on the full moon of the twelfth, people usually prepare natural materials to make krathong. For example, they use banana trunk and lotus to make beautiful krathong then stick candle, incense stick, and flowers in krathong. They always ask for good luck in the future and forgiveness Pra Mae Khongkha.
At the temples and tourist places, they held contestation of making krathong and Noppamas beauty pageants contest. There are many entertainment shows at night. Moreover, they set cautiously fireworks. The materials, used for making krathong, could be easily decomposed.

Reasons for Loi Krathong
     We can conclude the reasons for Loi Krathong in Thailand that:-
     1. To ask for forgiveness Pra Mae Khongkha because we use and drink water. Moreover, we  often throw rubbishes and excrete wasted things in the water.
     2. To worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River beach in India.
     3. To fly away misfortune and bad things like floating sin- Bhrama ceremony.
     4. To pay respect to Uppakhud whom mostly northern villagers show their gratitude for.      According to legend, he was a monk who had supernatural to kill Mara.
     Krathong could be made from anything else such as banana leaves, banana trunks, coconut  barks, paper, and etc. Stuck with incense stick and candle to make a wish and float it in the river.

 เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
          1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
          2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
          3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
          4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
          5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
          6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
          7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย
          การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงในปัจจุบัน
          การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา
ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

เหตุผลของการลอยกระทง
สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
          1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย
          2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
          3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
          4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง

     การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล "สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย, ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดเดือนต่อไป

วัตถุประสงค์
     ๑. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป
     ๒. เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุกปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน
     ๓. เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
     ๔. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน


ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก http://www.loikrathong.net

2 ความคิดเห็น:

  1. ผมเข้ามาขอรูปนำไปเผยแพร่นะครับ ขอบคุณครับ
    http://pumalone.blogspot.com/

    ตอบลบ
  2. ชอบบทความมากเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

    ตอบลบ